โรคมาลาเรีย คืออะไร สาเหตุ อาการ การป้องกันและวิธีรักษาโรคมาลาเรีย

โรคมาลาเรีย คืออะไร สาเหตุ อาการ การป้องกันและวิธีรักษาโรคมาลาเรีย

สำหรับโรคมาลาเรียหลายคนคงทราบกันดีแล้วว่าเกิดจากการโดนยุงก้นปล่องกัดเป็นปัจจัยหลัก ทำให้เชื้อมาลาเรียถูกบ่มเพาะอยู่ในกระแสเลือดจนมาสู่อาการต่างๆ ที่ร้ายแรงต่อร่างกาย โดยหลายคนมักปล่อยปละละเลยปล่อยให้มีลูกน้ำยุงมาไข่ตามแหล่งน้ำขังต่างๆ อย่างเช่น กระถางต้นไม้ หรือที่รองขาโต๊ะที่เทน้ำเพื่อป้องกันมดขึ้นโต๊ะ เป็นต้น ทำให้เกิดเป็นแหล่งพาหะของโรคโดยไม่รู้ตัว
สาเหตุของโรคมาลาเรีย
– เกิดจากการถูกยุงก้นปล่องกัด
– เกิดจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ติดเชื้อทางกระแสเลือด
– การได้รับเลือดจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อมาลาเรียในการรักษาโรคอย่างซิฟิลิส ทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นสมอง
– อาจติดต่อผ่านทางรกของมารดาสู่ลูกน้อยได้
โรคมาลาเรีย
ยุงก้นป่อง ตัวการร้ายพาหะโรคมาลาเรีย
อาการของโรคมาลาเรีย
– เริ่มแรกมักมีอาการคล้ายไข้หวัด มีไข้ ปวดศีรษะ ไอ และปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
– ต่อมาจะเริ่มเป็นไข้เป็นช่วงๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยระยะแรกจะมีอาการไข้หนาวสั่น ต่อมาจะเริ่มเป็นไข้ตัวร้อน และเหงื่อเริ่มออก จากนั้นก็จะกลับสู่สภาวะเดิมในอุณหภูมิปกติ และเป็นแบบนี้สลับกันไป โดยจะเป็นไข้วันเว้นวัน หรือวันเว้นสองวัน
– มีอาการปัสสาวะสีดำ เลือดเป็นกรด หรือชัก
– มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง หรือไตวาย ปอดบวมน้ำ
– มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดการช็อกเนื่องจากการไหลเวียนของเลือดในร่างกายไม่ดี
– มีภาวะเลือดออกตามจมูกหรือเหงื่อ
– เกิดภาวะเชื้อมาลาเรียขึ้นสมอง ทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด
วิธีการรักษาและป้องกันโรคมาลาเรีย
– แพทย์จะทำการตรวจเลือดหาเชื้อและวินิจฉัยอาการให้ยาฆ่าเชื้อพลาสโมเดียมในเม็ดเลือดแดงและในตับ
– ควรกำจัดลูกน้ำยุงลายตามแหล่งน้ำขังต่างๆ รวมทั้งในแหล่งน้ำตามคลองอาจให้เจ้าหน้าที่มาฉีดสารป้องกันยุงมาฟักหรืออาศัยตัว
– ควรป้องกันอย่าให้โดนยุงกัดโดยการทายากันยุง หรือนอนในมุ้ง ในบ้านที่มีมุ้งลวดตามประตู หน้าต่าง เพื่อป้องกันการถูกยุงกัด
ทั้งนี้ เราจึงควรหาวิธีป้องกันโรคมาลาเรียโดยการกำจัดลูกน้ำยุง เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดพาหะของโรคแต่เนิ่นๆ จะเป็นการดีที่สุด โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็กควรหมั่นดูแลให้นอนอยู่ในมุ้ง อย่าปล่อยให้โดนยุงกัดได้ง่ายๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มะเฟือง ประโยชน์และสรรพคุณของมะเฟือง

10 อันดับหนังสือเปลี่ยนโลก